Socket Fusion (วิธีการเชื่อมสอด)
วิธีการติดตั้งท่อ PPR & PP RCT ของ Polymelt จะใช้วิธีเชื่อมสอด หรือที่เรียกว่า Socket Fusion ซึ่งการติดตั้งด้วยวิธีนี้จะใช้ความร้อน 250-260 ℃ ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ทำให้ท่อ PPR และข้อต่อ PPR ของ Polymelt เกิดการหลอมเหลว และสามารถประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ ทำให้ไม่เกิดท่อรั่วซึมอย่างแน่นอน
วิธีการติดตั้งท่อ PPR & PP RCT วิธีนี้ไม่ต้องใช้กาวหรือน้ำยาประสานใดๆ ทำให้ระบบการติดตั้งท่อและข้อต่อ PPR ของ Polymelt สะอาดและปลอดภัยมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ทำการซ่อมแซมระบบท่อภายในอาคาร ที่จะไม่เกิดประกายไฟ ควัน หรือกลิ่นจากสารเคมีรบกวนระหว่างทำงานและสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเย็นตัว แนะนำให้ใช้เครื่องเชื่อมppr ของบริษัทฯ เท่านั้น และไม่แนะนำให้ใช้เครื่องเชื่อมที่สามารถปรับอุณหภูมิได้เพราะจะควบคุมคุณภาพได้ยากมากขึ้น
ขั้นตอนการติดตั้ง
1. การตัดท่อ
ใช้กรรไกรตัดท่อตัดในตำแหน่งที่ต้องการให้ตั้งฉาก หากเป็นท่อขนาดใหญ่ สามารถใช้เลื่อยที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนสูงตัดได้ และทำการแต่งปลายท่อให้เรียบร้อย
2. การวัดระยะของท่อ
ในการเชื่อมท่อแต่ละขนาดจะมีระยะในการเชื่อมไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องใช้แผ่นวัดระยะซึ่งระบุขนาดท่อ ทาบลงบนท่อแล้วใช้ดินสอทำเครื่องหมาย และดูระยะในการเชื่อมของท่อตามตารางการให้ความร้อน
3. การหลอมท่อและข้อต่อ
ต้องทำความสะอาดท่อ ข้อต่อ และหัวเชื่อมไม่ให้มีฝุ่น หรือสิ่งสกปรกเกาะอยู่ จากนั้น จึงนำท่อและข้อต่อสอดในหัวเครื่องเชื่อมppr พร้อมๆ กัน โดยข้อต่อให้ดันจนสุด ส่วนท่อให้ดันถึงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ ให้ความร้อนตามเวลาที่กำหนดของท่อแต่ละขนาดตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
4. การต่อเชื่อมท่อและข้อต่อ
เมื่อให้ความร้อนจนครบตามเวลาที่กำหนดแล้ว ดึงท่อและข้อต่อออกพร้อมกัน จากนั้นจึงสวมเข้าด้วยกัน โดยสามารถจัดแต่งให้ตรงได้ แต่ห้ามบิดหมุนไปมา เพราะอาจเป็นสาเหตุให้รอยเชื่อมแยกออกจากกันทำให้เกิดการรั่วได้ จับท่อและข้อต่อไว้ระยะหนึ่งจนเชื่อมสนิท และปล่อยมือ ทิ้งให้เย็นลงตามเวลาที่กำหนด จึงทำการทดสอบแรงดันน้ำ
ข้อควรระวัง
1. หากมีการตัดท่อจนเกิดรอยบากแล้ว จะต้องตัดท่อในจุดนั้นให้เสร็จสิ้น ห้ามเปลี่ยนตำแหน่งการตัดใหม่ เพราะอาจเกิดปัญหาท่อรั่ว จากรอยบากที่เกิดขึ้นได้(1)
2. ต้องเปลี่ยนหัวเชื่อมใหม่ เมื่อเกิดการหลุดลอกของเทฟลอน (Teflon) เพราะจะทำให้พลาสติกติดกับหัวเชื่อม และไหม้ได้ เป็นสาเหตุให้การเชื่อมไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาท่อรั่วซึมตามมาได้(2)
3. ห้ามดันท่อเข้าไปในหัวเชื่อม เกินกว่าตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ เพราะจะทำให้ปลายท่อตีบหรือตันได้
4. ห้ามใช้ซิลิโคนที่มีส่วนผสมของน้ำมันสัมผัสกับผิวท่อ เพราะจะทำให้เกิดการบวมตัว ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง และการทนแรงดันต่ำลง
5. ห้ามนำท่อและข้อต่อที่สีซีด หรือเสื่อมสภาพแล้วมาใช้ เพราะจะเชื่อมไม่เป็นเนื้อเดียวกัน การทนแรงดันต่ำลง และท่อรั่วซึมได้
6. บริเวณที่ทำการติดตั้งท่อและข้อต่อ (แบบ Socket Fusion, Butt Fusion, Electro Fusion) ห้ามทาสีหรือวัสดุอื่นใดก่อนทำการเชื่อม เพราะท่อและข้อต่อจะไม่สามารถผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ ส่งผลให้เกิดการรั่วซึมในที่สุด
(1)
(2)
ตารางการให้ความร้อนท่อและข้อต่อ PPR & PP RCT (System Requirements)
เครื่องเชื่อมppr พร้อมหัวเชื่อมและอุปกรณ์ Polymelt (WELDING MACHINE AND ACCESSORIES)
เครื่องเชื่อมppr ในการติดตั้งท่อ PPR ของ Polymelt เป็นเครื่องเชื่อมที่สามารถใช้กับการเชื่อมแบบสอด หรือ Socket Fusion โดยเครื่องเชื่อมนี้สามารถเลือกใช้กับท่อ PPR ในขนาดที่หลากหลายตามความเหมาะสม โดย เครื่องเชื่อมPPR นี้สามารถใช้กับท่อ PPR ที่มีขนาดตั้งแต่ ½” – 4”นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้ด้วยการต่อปลั๊กไปกับไฟฟ้า 220 โวลต์ (ไฟฟ้าบ้านปกติ) เมื่อใช้งานเสร็จให้ถิดปลั๊กและปล่อยให้เครื่องเย็นลง จากนั้นใช้ผ้าสะอาดเช็ดตัวเครื่องก่อนเก็บ