
การทำงานของระบบปรับอากาศ (HVAC)
ในระบบปรับอากาศที่ซับซ้อน ประกอบด้วยส่วนประกอบหลายอย่างที่มีหน้าที่และความสำคัญแตกต่างกันไป แต่หนึ่งในส่วนที่สำคัญซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “หัวใจ” ของระบบปรับอากาศคือ ท่อที่ใช้ในระบบปรับอากาศ หน้าที่หลักของท่อเหล่านี้คือการขนส่งน้ำหรือสารหล่อเย็นเพื่อหมุนเวียนและกระจายความเย็นไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของอาคาร
การเลือกใช้ท่อที่เหมาะสมกับระบบปรับอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ท่อที่ดีต้องมีคุณสมบัติ แข็งแรง ทนทานต่อแรงดันและอุณหภูมิ และยังต้องทนต่อการกัดกร่อน เพื่อให้ระบบปรับอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่อ PPR ยี่ห้อ POLYMELT จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับระบบนี้ เนื่องจากคุณสมบัติโดดเด่นที่สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของระบบปรับอากาศได้อย่างลงตัว ส่วนที่สามารถใช้เป็นท่อ PPR ได้ ได้แก่
Chilled Water Pipework
ระบบท่อสำหรับการส่งผ่านน้ำเย็นในระบบปรับอากาศ โดยน้ำเย็นจะถูกผลิตขึ้นจากเครื่องทำความเย็น (Chiller) และถูกส่งผ่านท่อไปยังเครื่องทำความเย็นภายในอาคาร เช่น คอยล์เย็น (Fan Coil Unit – FCU) หรือเครื่องทำความเย็นกลาง (Air Handling Unit – AHU) เพื่อทำให้อากาศภายในอาคารเย็นลง

องค์ประกอบหลักของระบบท่อน้ำเย็น (Chilled Water Pipework)
- Chiller: เครื่องทำความเย็นที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็น
- ปั๊มน้ำ: ใช้ในการขนส่งน้ำเย็นจาก Chiller ไปยังอุปกรณ์ทำความเย็นต่าง ๆ
- ท่อน้ำเย็น: ทำหน้าที่ส่งผ่านน้ำเย็นจาก Chiller ไปยังจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร โดยท่อเหล่านี้มักทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการสูญเสียความเย็น เช่น ท่อพีพี-อาร์ (PP-R), ท่อทองแดง, ท่อเหล็กหุ้มฉนวน เป็นต้น
- คอยล์เย็น (FCU/ AHU): อุปกรณ์ที่น้ำเย็นถูกส่งเข้าไปเพื่อทำให้อากาศเย็นลง แล้วส่งอากาศเย็นนั้นไปยังพื้นที่ภายในอาคาร
Condenser Water Pipework
ระบบท่อสำหรับการส่งผ่านน้ำที่ใช้ในระบบคอนเดนเซอร์ของเครื่องทำความเย็นหรือระบบปรับอากาศ น้ำในระบบนี้เรียกว่า “Condenser Water” ซึ่งทำหน้าที่ในการระบายความร้อนที่ถูกดูดซับจากพื้นที่หรืออุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ
องค์ประกอบหลักของระบบท่อน้ำคอนเดนเซอร์ (Condenser Water Pipework)
- Chiller/Condenser: เครื่องทำความเย็นที่ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากพื้นที่หรืออุปกรณ์ในระบบปรับอากาศและปล่อยความร้อนออกไปสู่น้ำคอนเดนเซอร์
- Cooling Tower: หอระบายความร้อนที่ใช้ในการระบายความร้อนจากน้ำคอนเดนเซอร์โดยการปล่อยน้ำที่มีอุณหภูมิสูงออกไปสู่บรรยากาศ
- ปั๊มน้ำคอนเดนเซอร์: ใช้ในการขนส่งน้ำคอนเดนเซอร์จาก Chiller ไปยัง Cooling Tower และกลับมา
- ท่อน้ำคอนเดนเซอร์: ทำหน้าที่ส่งผ่านน้ำคอนเดนเซอร์ระหว่าง Chiller และ Cooling Towe

Condensate Drain Pipework
ระบบท่อสำหรับการระบายน้ำทิ้งที่เกิดจากการควบแน่นในระบบปรับอากาศ น้ำที่เกิดจากการควบแน่นนี้เรียกว่า “Condensate” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออากาศชื้นผ่านเข้ามาสัมผัสกับพื้นผิวเย็นของคอยล์เย็น (Evaporator Coil) หรืออุปกรณ์ทำความเย็นอื่น ๆ ในระบบ
องค์ประกอบหลักของระบบท่อระบายน้ำควบแน่น (Condensate Drain Pipework)
- Evaporator Coil: คอยล์เย็นที่ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากอากาศและทำให้อากาศเย็นลง เมื่ออากาศชื้นผ่านเข้ามาสัมผัสกับคอยล์เย็น น้ำในอากาศจะกลายเป็นหยดน้ำ (Condensate)
- Condensate Drain Pan: ถาดรองน้ำควบแน่นที่ติดตั้งใต้คอยล์เย็นเพื่อรองรับหยดน้ำที่เกิดขึ้น
- Condensate Drain Pipe: ท่อระบายน้ำที่ทำหน้าที่ส่งผ่านน้ำควบแน่นจากถาดรองน้ำไปยังท่อระบายน้ำทิ้งภายนอกอาคาร

Make-up Pipe
ท่อที่ใช้ในการเติมน้ำเข้าสู่ระบบเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากการใช้งาน การรั่วไหล หรือการระเหย ระบบต่าง ๆ ที่ต้องมี make-up pipe คือ ระบบทำความร้อน, ระบบปรับอากาศ (HVAC), ระบบหม้อไอน้ำ, และระบบทำน้ำเย็น
หน้าที่และการทำงานของ Make-up Pipe
- เติมน้ำเข้าสู่ระบบ: เมื่อน้ำในระบบลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด make-up pipe จะทำหน้าที่เติมน้ำเข้าสู่ระบบให้คงระดับที่เหมาะสม
- ควบคุมระดับน้ำในระบบ: ใช้ร่วมกับวาล์วและเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมระดับน้ำในระบบให้เสถียร
- ป้องกันการทำงานผิดปกติของระบบ: ทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของระบบ Make-up Pipe
- วาล์วควบคุม (Control Valve): ใช้ในการเปิด-ปิดการไหลของน้ำเข้าสู่ระบบ
- เซ็นเซอร์ระดับน้ำ (Water Level Sensor): ตรวจวัดระดับน้ำในระบบและส่งสัญญาณไปยังวาล์วควบคุม
- ท่อเมคอัพ (Make-up Pipe): ท่อที่ต่อจากแหล่งน้ำไปยังระบบที่ต้องการเติมน้ำ ซึ่งท่อในส่วนนี้ไม่ได้อยู่ภายในอาคาร ต้องเจอกับแสงแดด UV ความชื้น อาจต้องมีการหุ้มฉนวนเพื่อควบคุมอุณหภูมิน้ำในท่อให้เกิดความคงที่

การนำท่อ PPR ไปใช้ในระบบปรับอากาศ ต้องระมัดระวังเรื่องแรงดันและการหดตัวของท่อ จึงต้องเลือกรุ่นที่รับแรงดันได้อย่างเหมาะสม เช่น 10 บาร์ 16 บาร์ หรือ 20 บาร์ และต้องคำนวนหา ระยะการหดตัวของท่อด้วย ซึ่งท่อที่มีการนำ FIBER มาผสม เช่น รุ่น Mechanical ของ POLYMELT จะช่วยลดการหดตัวของท่อได้อย่างน้อย 3 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นปกติ ซึ่งท่อรุ่นนี้มีค่าคงที่การยืดตัวที่ 0.38 mm/m.K ทำให้ปัญหาการหดตัวเกิดขึ้นได้น้อย ซึ่งดีกว่าท่อ PE อย่างมาก
ท่อ PPR รุ่น Mechanical ยี่ห้อ POLYMELT มีขนาดใหญ่สูงสุดถึง 500 mm จึงสามารถรองรับการใช้งานในระบบปรับอากาศได้มากกว่าท่อ PPR ยี่ห้ออื่นในตลาดที่มีขนาดใหญ่สุดเพียง 160 mm เท่านั้น