ท่อ PPR ในระบบปรับอากาศ (HVAC)

ท่อ PPR ในระบบปรับอากาศ (HVAC)

        อากาศในประเทศไทย ร้อนขึ้นเรื่อยๆ และมีสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบปรับอากาศ (HVAC: Heating, Ventilation, and Air Conditioning) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีคุณภาพการใช้ชีวิตดีมากขึ้น ระบบปรับอากาศกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากของทุกอาคาร การเลือกใช้วัสดุ และการดูแลรักษาระบบปรับอากาศที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างมาก ไม่เพียงแต่เพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่จะต้องประหยัดพลังงาน และประหยัดเงินในระยะยาวให้โครงการได้อีกด้วย

        ระบบปรับอากาศในอาคารสูงมักจะต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การกระจายอากาศต้องสม่ำเสมอ การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมในทุกชั้นของอาคาร และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมสำหรับระบบปรับอากาศจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และหนึ่งในวัสดุที่ได้รับความนิยมหันมาใช้ในปัจจุบันคือ ท่อพลาสติก PPR & PP-RCT รุ่น Mechanical

คุณสมบัติของท่อพลาสติก PPR

        ท่อพลาสติก PPR (Polypropylene Random) ยี่ห้อ Polymelt มีคุณสมบัติเฉพาะที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในหลากหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบน้ำร้อน น้ำเย็น หรือระบบปรับอากาศ ท่อพลาสติก PPR จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานก่อสร้างทั้งโครงการขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การติดตั้งท่อ PPR ยังทำได้ง่ายและรวดเร็ว มีน้ำหนักเบา ลดเวลาการทำงาน และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งให้กับโครงการได้

ข้อดีในการใช้ท่อ PPR ในระบบปรับอากาศ

ทนทานต่ออุณหภูมิ

ท่อ PPR สามารถทนต่ออุณหภูมิได้ดี โดยไม่เกิดการเปลี่ยนรูปหรือเสียหาย ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ท่อ PPR สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงสุดได้ถึง 95°C และต่ำสุดถึง -20°C จึงเหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในระบบน้ำร้อนและน้ำเย็น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบปรับอากาศ

ไม่เกิดสนิม

ท่อ PPR ไม่เป็นสนิม และไม่เกิดการกัดกร่อนทั้งภายในและภายนอก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการรั่วซึม และยืดอายุการใช้งาน

น้ำหนักเบา

เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบากว่าท่อเหล็ก 3 เท่า การติดตั้งท่อ PPR ทำได้ง่าย ลดภาระในการขนส่งและการติดตั้ง

การติดตั้งที่รวดเร็ว

ท่อ PPR สามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยความร้อน (Fusion Welding) ทำให้กระบวนการติดตั้งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ไม่รั่วซึม ▶️การติดตั้งท่อ PPR ด้วยความร้อน

ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี

ท่อ PPR มีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีสูงกว่าท่อเหล็ก ซึ่งทำให้ใช้งานได้ยาวนานกว่า ช่วยลดปัญหาการบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ซึ่งจะต้องพิจารณาจาก ตาราง Chemical Resistance ประกอบในการใช้งานทุกครั้ง

ไม่มีสารเคมีตกค้าง

ท่อ PPR ปลอดภัยและไม่มีสารพิษตกค้างในระบบน้ำหรือสารหล่อเย็น เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบน้ำดื่ม น้ำร้อน และระบบปรับอากาศที่ต้องการความปลอดภัย

ประหยัดพลังงาน

ท่อ PPR มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดี จึงช่วยลดการสูญเสียพลังงานในระบบปรับอากาศ ส่งผลให้การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

ท่อ PPR สามารถทนต่ออุณหภูมิได้ดี โดยไม่เกิดการเปลี่ยนรูปหรือเสียหาย

ความทนทานต่ออุณหภูมิ

ท่อ PPR ไม่เป็นสนิม และไม่เกิดการกัดกร่อนทั้งภายในและภายนอกท่อ

ไม่เกิดสนิม

ท่อ PP-R มีน้ำหนักที่เบากว่าท่อเหล็ก 3 เท่า การติดตั้งท่อ PPR ทำได้ง่าย

น้ำหนักเบา

ท่อ PPR สามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยความร้อน (Fusion Welding)

การติดตั้งที่รวดเร็ว

ท่อ PPR มีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีสูงกว่าท่อเหล็ก

ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี

ท่อ PPR ปลอดภัยและไม่มีสารพิษตกค้าง เหมาะสำหรับใช้งานในระบบน้ำดื่ม น้ำร้อน และระบบปรับอากาศ

ไม่มีสารเคมีตกค้าง

ท่อ PPR มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดี จึงช่วยลดการสูญเสียพลังงานในระบบปรับอากาศ

ประหยัดพลังงาน

ท่อ PPR & PP-RCT กับระบบปรับอากาศ

Chilled water pipework

ระบบท่อสำหรับการส่งผ่านน้ำเย็นในระบบปรับอากาศ โดยน้ำเย็นจะถูกผลิตขึ้นจากเครื่องทำความเย็นชิลเลอร์ (Chiller) และถูกส่งผ่านท่อไปยังเครื่องทำความเย็นภายในอาคาร เช่น คอยล์เย็น (Fan Coil Unit – FCU) หรือเครื่องทำความเย็นกลาง (Air Handling Unit – AHU) เพื่อทำให้อากาศภายในอาคารเย็นลง ดังนั้น ท่อที่จะมาทำหน้าที่เป็นท่อสำหรับส่งผ่านน้ำเย็นต้องมีคุณสมบัติในการทนต่อความเย็นประมาณ 6 – 12 ° C และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการสูญเสียความเย็นและทนการกัดกร่อนทั้งภายนอกและภายในได้ดี แนะนำให้ใช้ ท่อ PP-RCT ยี่ห้อ POLYMELT รุ่น Mechanical

Condenser water pipework

ระบบท่อสำหรับการส่งผ่านน้ำที่ใช้ในระบบคอนเดนเซอร์ของเครื่องทำความเย็นหรือระบบปรับอากาศ น้ำในระบบนี้เรียกว่า “Condenser Water” ซึ่งทำหน้าที่ในการระบายความร้อนที่ถูกดูดซับจากพื้นที่หรืออุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ ท่อที่สามารถใช้ในระบบนี้ได้ ต้องมีคุณสมบัติที่รองรับน้ำที่อุณหภูมิสูง โดยท่อ PP-RCT ยี่ห้อ POLYMELT มีคุณสมบัติที่ลดการยืดหดขยายตัวถึง 5 เท่า และรองรับอุณหภูมิได้สูงถึง 95°C

Condensate drain pipework

ระบบท่อสำหรับการระบายน้ำทิ้งที่เกิดจากการควบแน่นในระบบปรับอากาศ น้ำที่เกิดจากการควบแน่นนี้เรียกว่า “Condensate” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออากาศชื้นผ่านเข้ามาสัมผัสกับพื้นผิวเย็นของคอยล์เย็น (Evaporator Coil) หรืออุปกรณ์ทำความเย็นอื่น ๆ ซึ่งต้องระมัดระวังเรื่องแรงดันและการหดตัวของท่อ โดยต้องเลือกรุ่นที่รับแรงดันได้อย่างเหมาะสม เช่น 10 บาร์ 16 บาร์ หรือ 20 บาร์ โดยท่อที่มีการนำ FIBER มาผสม จะช่วยลดการหดตัวได้อย่างน้อย 3 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นปกติ ท่อ PP-RCT ยี่ห้อ POLYMELT รุ่น Mechanical ที่มีค่าคงที่การยืดตัว ที่ 0.38 mm/m.K ทำให้เกิดปัญหาการหดตัวน้อย ซึ่งดีกว่าท่อ PE เป็นอย่างมาก

Make-up pipe

ท่อที่ใช้ในการเติมน้ำเข้าสู่ระบบเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากการใช้งาน การรั่วไหล หรือการระเหย ระบบต่าง ๆ ที่ต้องมี make-up pipe คือ ระบบทำความร้อน, ระบบปรับอากาศ (HVAC), ระบบหม้อไอน้ำ, และระบบทำน้ำเย็น ซึ่งจำเป็นต้องเป็นท่อที่มีขนาดใหญ่ ท่อ PP-RCT ยี่ห้อ POLYMELT รุ่น Mechanical จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกับระบบต่างๆข้างต้น เนื่องจากส่วน POLYMELT มีขนาดใหญ่สุดถึง 500 mm จึงมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นระบบปรับอากาศมากกว่า พีพี-อาร์ยี่ห้ออื่นในตลาดที่มีขนาดใหญ่สุดเพียง 160 mm